ยุทธศาสตร์การพัฒนา
จากการวิเคราะห์ผลการพัฒนาที่ผ่านมา ตลอดทั้งสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เทศบาลตำบลบัวเชดจึงมีความมุ่งหวังที่จะจัดทำแผนการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในท้องถิ่น จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาโครงการที่จะพัฒนา ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชน
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
2) เพื่อให้ราษฎรในเขตเทศบาลได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยและรวดเร็วทันการณ์
3) เพื่อให้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มตั้งกลุ่มอาชีพเสริมในชุมชนต่าง ๆ
4) เพื่อสร้างแหล่งอาชีพในชุมชนในการลดช่องทางการว่างงาน
5) เพื่อให้กลุ่มอาชีพมีความเข้มแข็งสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย
6) เพื่อกระตุ้นให้ครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลบัวเชด ได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มอาชีพเสริมเพื่อ สร้างรายได้ให้ครอบครัวและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
7) เพื่อให้กลุ่มอาชีพต่างๆ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ
เป้าหมาย
1) ประชาชนในเขตเทศบาลได้รับการศึกษาในขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
2) ประชาชนสามารถได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์วิทยาการสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 100
3) มีครัวเรือนเข้ารวมกลุ่มอาชีพเสริมต่างๆ ในชุมชน เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50
4) ลดจำนวนประชากรในวัยทำงานว่างงาน อย่างน้อยร้อยละ 35
5) กลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนในชุมชนต่างๆ มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น
6) ทุกครัวเรือนในชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลมีความตื่นตัวและให้ความสำคัญเข้ารวมกลุ่มเป็นสมาชิกในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริม
7) ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ได้มาตรฐานและเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ให้มีมาตรฐานและคลอบ
คลุมพื้นที่อย่างทั่วถึง รวมทั้งมีความสะดวกทันสมัย
2) เพื่อให้ครัวเรือนที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลได้รับบริการขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ
3) เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เป้าหมาย
1) เทศบาลตำบลบัวเชด จะมีถนน คสล. อย่างน้อยร้อยละ 80 % ของจำนวนถนนทั้งหมดใน
2) ทุกครัวเรือนจะได้รับบริการในระบบขั้นพื้นฐาน มีความสะดวกในด้านสาธารณูปโภคและ
สาธารณูปการด้านโครงสร้างพื้นฐาน อย่างน้อยร้อยละ 80 %
3) ทุกครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 40
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการศึกษาขั้นปฐมวัยให้ได้มาตรฐาน
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้เด็กในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบัวเชด ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
2) เพื่อจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบัวเชดให้สามารถบริการคลอบคลุมพื้นที่ทั้ง 10
ชุมชน และสามารถให้บริการด้านการศึกษาระดับปฐมวัยได้อย่างเพียงพอต่อจำนวนเด็ก
3) เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งประกวดความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความ
พร้อมด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป้าหมาย
1) เด็กระดับปฐมวัย ( 3 ขวบ ) ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบัวเชด และนอกเขตพื้นที่ได้รับการศึกษา
ในขั้นพื้นฐานจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบัวเชด
2) ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลบัวเชด ทั้ง 2 แห่ง มีความพร้อมในการให้บริการและสามารถส่ง
เข้าประกวดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับจังหวัด
และภูมิภาคได้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาส่งเสริมสาธารณสุข
วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนตามชุมชนในเขตเทศบาลหันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
เพื่อลดช่องว่างของอัตราการเกิดโรคต่าง ๆ กับสุขภาพของประชาชนให้น้อยลง
2) เพื่อจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนในการออกกำลังกาย
3) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ด้านสุขภาพอนามัย และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการ
ป้องกัน บำบัดรักษา เพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า
เป้าหมาย
1) กลุ่มผู้สูงอายุ เยาวชน และเด็กในชุมชนต่าง ๆ ของเทศบาลตำบลบัวเชด ให้ความสนใจร่วม
ออกกำลังกายมากขึ้น
2) ชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลตำบลบัวเชด มีการรวมตัวกันจัดตั้งศูนย์สุขภาพในชุมชนของตนเอง
3) เทศบาลและชุมชน ร่วมมือเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เพื่อรณรงค์ป้องกันโรค และขจัดสาเหตุ
ของโรค / อุบัติภัย โดยเน้นพื้นที่เสี่ยงและล่อแหลม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
2) เพื่อประชาสัมพันธ์ประเพณีท้องถิ่นให้แพร่หลาย เป็นที่รู้จักและสามารถส่งเสริมรายได้ของ
ประชาชนจากการท่องเที่ยว
3) เพื่อสืบสานและส่งเสริมภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่สืบไป
เป้าหมาย
1) ประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และสืบสานอย่างน้อยร้อยละ 90 ของประเพณี
ทั้งหมด เป็นประจำทุกปี
2) ประเพณีท้องถิ่นมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 90 ของประเพณี
ทั้งหมด
แนวทางการพัฒนาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชน
แนวทางที่ 1 จัดสรรงบประมาณในการอุดหนุนโรงเรียนและสนันสนุนหน่วยงานของรัฐในกิจกรรม
สาธารณประโยชน์
แนวทางที่ 2 การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร
แนวทางที่ 3 จัดฝึกอบรมให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะแก่ประชาชนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
แนวทางที่ 4 ด้านสังคมและความเข้มแข็งในชุมชน
แนวทางที่ 5 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเทศบาล
แนวทางที่ 6 ด้านการป้องกันอุบัติเหตุ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
แนวทางที่ 1 ขยายระบบบริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ไฟฟ้า ประปา และด้านอื่น ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการศึกษาขั้นปฐมวัยให้ได้มาตรฐาน
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมด้านสวัสดิการและสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยได้รับการศึกษา อบรมเลี้ยงดู
แนวทางที่ 2 การก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯ
แนวทางที่ 3 การจัดสรรงบประมาณส่งเสริมและสนับสนุนด้านอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาส่งเสริมด้านการสาธารณสุข
แนวทางที่ 1 จัดสรรงบประมาณอุดหนุนและสนับสนุนการบริการด้านสาธารณสุข
แนวทางที่ 2 สนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพ
แนวทางที่ 3 ป้องกันและควบคุมโรค
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการส่งเสริมอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และนันทนาการ
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนในการร่วมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น จัดทำวารสาร
ประชาสัมพันธ์ และจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
นโยบายการพัฒนาจังหวัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุรินทร์
วิสัยทัศน์จังหวัดสุรินทร์
“เกษตรอินทรีย์เป็นเลิศ เปิดประตูสู่อินโดจีน”
“The Capital of Organic Farming Gateway to Indochina”
เป้าประสงค์
(1) ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และคุณภาพของการผลิตเกษตรอินทรีย์
(2) เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
(3) พัฒนาผ้าไหมสุรินทร์ให้ก้าวไกลสู่ตลาดโลก
ยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนา
(1) ด้านเกษตรอินทรีย์ เน้นเพิ่มศักยภาพการผลิต จัดตั้งและเพิ่มความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกรเพื่อการแปรรูปและการตลาด เช่น โครงการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โครงการผลิตไก่พื้นเมืองอินทรีย์ โครงการจัดตั้งโรงสีชุมชนและอุปกรณ์การตลาด โครงการพัฒนาแปลงหม่อนที่มีอยู่เดิมให้มีคุณภาพ โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไหมพื้นเมือง เป็นต้น
(2) ด้านการท่องเที่ยว เน้นส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว เช่น โครงการสร้างโลกของช้าง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จังหวัดสุรินทร์ โครงการพัฒนาด่านช่องจอมเพื่อการท่องเที่ยวและการค้า เป็นต้น
(3) ด้านการพัฒนาไหมสุรินทร์ เน้นการตลาดนำการผลิต การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไหมไทย การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น โครงการจัดเทศกาลและแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าไหมสุรินทร์ โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมภูมิปัญญาสู่สากล เป็นต้น
นโยบายการพัฒนาอำเภอ
วิสัยทัศน์ของอำเภอบัวเชด ได้กำหนดไว้ว่า
“แหล่งท่องเที่ยวน่าดูชม อุดมด้วยเกษตรอินทรีย์ โรคภัยไม่มีเบียดเบียน”
“เป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าดูชม” อำเภอบัวเชดเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวในหลายแห่ง เช่น สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา ซึ่งได้แก่ พุทธอุทยานเขาศาลา น้ำตกไตรคีรี ถ้ำผาไทร อ่างเก็บน้ำจรัส ปราสาทตามอญ ป่าสนสองใบ
“อุดมด้วยเกษตรอินทรีย์” มีการผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย (พืช,สัตว์) และปลอดภัยจากสารพิษ โดยการผลิตมีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
“โรคภัยไม่มีเบียดเบียน” มีการป้องกันและควบคุมโรคเป็นอย่างดี ไม่มีการระบาดของโรค
เป้าประสงค์การพัฒนาของอำเภอบัวเชด มีดังต่อไปนี้
1. ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และคุณภาพของการผลิตเกษตรอินทรีย์
2. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
3. ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในการใช้พลังงานจากธรรมชาติอย่างมี
ประสิทธิภาพ
4. ประชาชนตื่นตัวในการฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ประชาชนมีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม มีสุขภาพดีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอำเภอบัวเชด มีดังต่อไปนี้
1. ยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์
1.1 เพิ่มศักยภาพการผลิต
1.2 จัดตั้งและเพิ่มความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกรเพื่อการแปรรูปและการตลาด
2. ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว
2.1 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว
3. ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน
3.1 การรณรงค์สร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 ส่งเสริมการพัฒนาและเทคโนโลยีพลังงานทดแทนเพื่ออนุรักษ์พลังงาน
3.3 พัฒนาบุคลากรด้านพลังงาน
3.4 พัฒนาระบบข้อมูลด้านการพลังงาน
4. ยุทธศาสตร์ด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.1 การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.2 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.3 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
5.1 การเรียนรู้ตลอดชีวิต
5.2 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรม
5.3 เสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวม
นโยบายการพัฒนาของนายกเทศมนตรี
คณะผู้บริหารของเทศบาลตำบลบัวเชด ได้มีนโยบายในการพัฒนาเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างรวดเร็วและทันต่อความต้องการ โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาให้มีความครอบคลุม สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน จะดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
– ขยายเขตไฟฟ้าส่องสว่างให้ทั่วถึง บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าส่องสว่างที่มีอยู่ให้มีสภาพการใช้งานที่สมบูรณ์
– ประสานงานในการขยายเขตให้บริการประปาส่วนภูมิภาครวมทั้งการจัดการระบบประปาหมู่บ้านชุมชนให้มีประสิทธิภาพ
– การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ ทางระบายน้ำ แผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่รองรับนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่
• งานไฟฟ้าสาธารณะ งานก่อสร้างถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ถนนลูกรัง
• การขยายระบบประปาส่วนภูมิภาค การขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อทำประปาหมู่บ้าน
2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต จะดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
– การเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนทุพลภาพไร้ที่พึ่ง การสังคมสงเคราะห์
– การส่งเสริมกลุ่มอาชีพในชุมชนให้มีทุนหมุนเวียนในกลุ่ม
– การสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่เรียนดีแต่มีฐานะยากจน
– สนับสนุนการกีฬา
– สนับสนุนการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตให้กับสถานศึกษาทุกแห่งในเขตเทศบาล
3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน การรักษาความสงบเรียบร้อย จะดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
– การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
– การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคของประชาชน
– การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
– การดูแลรักษาที่สาธารณะ
4. ด้านส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยว จะดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
– สนับสนุนนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
– ส่งเสริมการฝึกอาชีพ ทุนประกอบอาชีพ
– ส่งเสริมการท่องเที่ยว
– สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
5. ด้านบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
– การจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย
– การจัดการ บำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ
6. ด้านบริหารจัดการและสนับสนุนการปฏิบัติตามภารกิจของส่วนราชการและเทศบาล จะดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
– การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
– การปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
– การปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
– การสนับสนุนงบประมาณ ปัจจัยในการบริหารให้กับหน่วยงานราชการ สถาบันในสังคม เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ วัด ตามโครงการที่เสนอเข้ามาและอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเทศบาล